fbpx

ตกขาว ปวดท้องน้อย

 

ตกขาว ปวดท้องน้อย – สาว ๆ หลายคน จะต้องเคยมีอาการ ปวดท้องน้อย หรือปวดในอุ้งเชิงกรานกันมาบ้าง บางคนอาจจะปวดน้อย บางคนก็ปวดมาก หรือที่บ่นกันบ่อย ๆ ก็คงหนีไม่พ้น อาการปวดท้องขณะมี หรือหลังมีประจำเดือน ซึ่งหลายคนก็ปล่อยให้มันผ่านไป ทนนิดเดียวเดี๋ยวก็หายแล้ว อย่างมากก็กิน ยาแก้ปวดท้อง เพื่อบรรเทาอาการเอง แต่อาการปวดท้องน้อยบางอย่างก็เป็นอันตรายได้ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ปวดท้องน้อย แล้วจะรักษาได้อย่างไร วันนี้เราได้นำมาบอกคุณแล้ว

 

วิธีรักษาอาการปวดท้องน้อย

เมื่อมีอาการปวดหรือเจ็บท้องน้อยโดยเฉพาะเมื่อเกิดร่วมกับความผิดปกติทางปัสสาวะ (เช่น ปัสสาวะแสบ ขัด ปัสสาวะเป็นเลือด) ทางอุจจาระ (เช่น อุจจาระเป็นเลือด) และ/หรือมีสารคัดหลั่งออกมาทางอวัยวะเพศ (เช่น หนอง ตกขาว) ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเสมอเพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

  • ผู้ป่วยส่วนมากจะยังไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยทันที ซึ่งการวินิจฉัยอาจต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง แต่แพทย์จะระงับอาการปวดให้ก่อน ซึ่งบางครั้งอาจต้องให้ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์แรงร่วมกับยากล่อมประสาท เพราะหลายครั้งที่อาการปวดจะถูกประทับในสมอง ทำให้มีอาการปวดเกิดขึ้นเองได้

 

  • สิ่งที่ผู้ป่วยจะสามารถช่วยแพทย์ได้ คือ จะต้องสังเกตให้ได้ว่ามีเหตุใดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหรือปวดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ปวดจากสาเหตุของกระเพาะปัสสาวะที่จะต้องหลีกเลี่ยงอาหารหลายชนิดที่ทำให้ปัสสาวะมีความเป็นกรดมาก จำพวกเนย อาหารรสจัด สารปรุงรส

 

  • ข้อสำคัญอีกเรื่อง คือ ผู้ป่วยไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ผู้ให้การรักษาเร็วเกินไป เพราะมีหลายโรคที่ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งในการวินิจฉัย หรือไม่สามารถรักษาให้หายได้ในเร็ววัน และโรคบางชนิดก็ไม่มียารักษาที่เฉพาะ และผู้ป่วยหลายรายอาจต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังที่ยังไม่ได้พบแพทย์เฉพาะด้าน หรืออาจจะหมดหวังกับการรักษา ควรมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาต่อไป

 

สาเหตุของการปวดท้องน้อย

อาการปวดท้องน้อยเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ และแต่ละสาเหตุก็ทำให้มีอาการปวดได้แตกต่างกันไป เช่น ไส้ติ่งอักเสบ (กดเจ็บตรงท้องน้อยด้านขวา), ปีกมดลูกอักเสบ (กดเจ็บตรงท้องน้อยทั้ง 2 ข้าง หรือด้านซ้ายหรือด้านขวาเพียงข้างเดียว และมีไข้สูง), กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น และเคาะเจ็บที่สีข้าง), การอักเสบของลำไส้ใหญ่, การอักเสบของลำไส้เล็กส่วนที่อยู่ในท้องน้อย, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในท้องน้อยอักเสบ, การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย), นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ, นิ่วในท่อไตส่วนล่าง (ปวดตรงท้องน้อยหรือสีข้างและร้าวไปที่ช่องคลอดข้างเดียวกัน), ปวดประจำเดือน (ปวดเวลามีประจำเดือน), เลือดออกทางช่องคลอด, ปวดท้องคลอด (ปวดบิดเป็นพัก ๆ ครรภ์แก่และมีลักษณะแบบปวดท้องคลอด), รกลอกตัวก่อนกำหนด (อายุครรภ์มากกว่า 6 เดือน และมดลูกเกร็งแข็ง), ตั้งครรภ์นอกมดลูก (ประจำเดือนขาดไม่เกิน 3 เดือน และลุกนั่งจะเป็นลม), แท้งบุตร (ประจำเดือนขาด มีอาการตกเลือดทางช่องคลอด และมีเศษเนื้อหรือเศษรกออกมา), เนื้องอกรังไข่, ถุงน้ำรังไข่, เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่, เนื้องอกมดลูก (มีประจำเดือนออกมาก หรือกะปริดกะปรอย หรือมีบุตรยาก), โรคมะเร็งของอวัยวะเพศหญิง (เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก), ต่อมลูกหมากอักเสบ, มะเร็งต่อมลูกหมาก, ขัดเบา, ท้องเดิน, ตกขาว หรือแม้กระทั่งภาวะทางจิตใจหรือภาวะเครียด เป็นต้น

 

อาการปวดท้องน้อยสามารถแยกออกได้เป็น 2-3 กลุ่ม คือ

1.ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน (Acute pelvic pain) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด และมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หรือมีอาการเป็นลมในบางราย สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะในช่องท้องที่เป็นสาเหตุหรืออาจเกิดจากอวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย และมักเกิดจากสาเหตุเพียงอย่างเดียว ที่พบได้บ่อย ๆ เช่น

 

    • การอักเสบต่าง ๆ ได้แก่ มดลูกอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ ลำไส้อักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

    • เนื้องอกรังไข่ อาจมีลักษณะเป็นเนื้องอกตันหรือถุงน้ำ (Cyst) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแบบตื้อ ๆ ถ่วง ๆ ท้องน้อย แบบเกิดขึ้นทันทีทันใด ถ้าถุงน้ำมีการรั่วจะทำให้น้ำหรือเลือดออกมาในช่องท้องหรือมีการบิดตัวที่ขั้วถุงน้ำ

    • การตั้งครรภ์นอกมดลูก คือ การตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนไปเกาะเจริญอยู่นอกตัวมดลูก ซึ่งมักเกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ (หลังจากปฏิสนธิตัวอ่อน) เมื่อเจริญมากขึ้นก็ดันท่อนำไข่โป่งและแตก จะทำให้มีเลือดไหลออกมาในช่องท้อง ทำให้ปวดและมีอาการเสียเลือด ผู้ป่วยอาจมีอาการช็อกและเสียชีวิตได้

    • ถุงน้ำรังไข่แตก รั่ว หรือบิดขั้ว

    • ภาวะไข่ตกในช่วงกลางรอบเดือน

    • นิ่วในท่อไต

 

2.ปวดท้องน้อยเป็นซ้ำ (Recurrent pelvic pain) เช่น

    • ปวดท้องน้อยเนื่องจากไข่ตก (Mittelschmerz) กลุ่มนี้จะเกิดจากมีการหลั่งของสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ออกมาจากถุงรังไข่ที่รั่วออกมา ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดสั้น ๆ ประมาณ 1-2 วัน ในช่วงกลาง ๆ ของรอบเดือน เมื่อรับประทานยาแก้ปวดอาการจะดีขึ้น แต่ในกรณีที่รับประทานยาแก้ปวดแล้วอาการยังไม่ทุเลาหรือมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น เหนื่อยง่าย เป็นลม จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป

 

    • ปวดประจำเดือน (Primary dysmenorrhea) ปกติแล้วถ้ามีประจำเดือนไม่ควรจะปวดหรือปวดเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าปวดมากมักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้น ซึ่งอาการปวดมักเกิดขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือนและอาจปวดต่อเนื่องได้ถึง 72 ชั่วโมง อาการปวดมักจะทุเลาได้โดยการใช้ยากลุ่มยับยั้งการสร้างสารโพรสตาแกลนดินหรือการใช้ยาคุมกำเนิด และอาการปวดของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะดีขึ้นหลังจากการมีบุตร

 

3.ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (Chronic pelvic pain) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาอย่างมากในการวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักมีประวัติการรักษาจากแพทย์หลายคน เนื่องจากการวินิจฉัยหาสาเหตุได้ค่อนข้างยาก อาการปวดอาจเกิดจากสาเหตุเดียวหรือเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุร่วมกันก็ได้ โดยเริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ แล้วต่อมาจะปวดตลอดเวลา หรืออาจจะปวดเป็นช่วง ๆ ไม่สม่ำเสมอ ไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ และอาการปวดมักจะเป็นต่อเนื่องกันมากกว่า 3-6 เดือน

 

อาการปวดท้องน้อย

อาการปวดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็น อาจปวดเจ็บ ปวดหน่วง หรือปวดบิดเป็นพัก ๆ ที่บริเวณท้องน้อย (ระดับใต้สะดือลงมาที่หัวหน่าว) บางทีก็ปวดร้าวไปที่อวัยวะอื่น ๆ (ซึ่งมักจะเป็นหลัง ก้นกบ ต้นขา เป็นต้น) โดยอาจปวดเป็นพัก ๆ หรือปวดตลอดเวลา และอาการปวดอาจเกี่ยวข้องกับระยะของประจำเดือน การปัสสาวะ การถ่ายอุจจาระ หลังการรับประทานอาหาร การนอนหรือการยืน ระหว่างหรือหลังจากการมีเพศสัมพันธ์

อาการปวดดังกล่าวอาจรบกวนการเคลื่อนไหว การนอน การมีเพศสัมพันธ์ การทำงาน จนทำให้ผู้ป่วยหลายรายไม่สามารถประกอบภารกิจได้ตามปกติจากอาการปวด หลายคนต้องลาออกจากงานเพราะเมื่อมีอาการปวดก็ไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดตามปกติ และบางครั้งก็ปวดจนสุดที่จะทนได้ อีกทั้งถ้าเกิดขึ้นเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดหรือเกิดความผิดปกติทางด้านจิตใจตามมาได้ เช่น มีอาการซึมเศร้า หรืออารมณ์แปรปรวน

 

สมุนไพรแก้ตกขาว ที่สามารถช่วยคุณได้

สมุนไพรแก้ตกขาว เป็นหนึ่งในกลุ่มสมุนไพรที่พบมากเป็นอับดับแรกๆ ซึ่งมีหลากหลายชนิดให้เลือกใช้ สำหรับบทความนี้เราได้รวบรวมมาฝากนับสิบชนิด ดังต่อไปนี้

1.ถั่วเหลือง ช่วยปรับฮอร์โมนเพศหญิง ฟื้นฟูผิวพรรณให้สดใส เต่งตึงอ่อนกว่าวัยอีกครั้ง

2.ว่านหางจระเข้ ช่วยทำให้ช่องคลอดไม่แห้ง เหมาะสำหรับคุณแม่หลังคลอดและวัยทอง

3.ซิงค์ เสริมธาตุเหล็กต่อการสร้างเม็ดเลือด ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

4.พริกไทยดำ กระชับมดลูก ฟื้นฟูความเสียหาย ของเซลล์ในร่างกาย

5.ตังกุย ลดอาการตกขาว แก้ไขปัญหาตกขาวผิดปกติ และลดกลิ่นไม่พึงประสงค์

 

ตัวช่วยง่ายๆสำหรับผู้ที่มีตกขาวเยอะกับผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ 

เพราะเราเข้าใจ ถึงปัญหาภายใน สุดลับของผู้หญิง ผู้หญิงจำนวนไม่น้อย ที่ต้องเจอกับปัญหา ช่องคลอดไม่กระชับ มีกลิ่นน้องสาว จนสามีเมิน ทำให้เกิดปัญหา เรื่องบนเตียง รวมไปถึงอาการตกขาว ที่มาไม่ปกติ และทรมานกับ อาการปวดท้อง ประจำเดือน ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ได้ง่าย เดี๋ยวอารมณ์ดี เดี๋ยวอารมณ์ร้าย เราจึงได้คิดค้น สูตรอาหารเสริมมา เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้น จนได้สูตรสมุนไพร 5 ชนิด ที่ช่วยกระชับ ช่องคลอด ลดตกขาว ลดอาการปวดท้อง ประจำเดือน พร้อมปรับสมดุล ของฮอร์โมน คืนความสาว ความอ่อนเยาว์ ให้คุณใหม่ อีกครั้ง

-ความกระชับ ช่วยกระชับช่องคลอด ทำให้มดลูกบีบตัวได้ดี เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

-ปรับสมดุลฮอร์โมน ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนผู้หญิง โดยเฉพาะวัยทอง และคุณแม่หลังคลอดหรือกำลังให้นมบุตร

-ลดอาการปวดท้องประจำเดือนและการตกขาว ช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้เป็นอย่างดีและลดตกขาวผิดปกติ ตกขาวสีเขียว สีเหลืองปนเลือด พร้อมลดกลิ่นไม่พึงประสงค์

-ผิวพรรณ ช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส ดูสุขภาพดี ผิวเต่งตึง ไม่หย่อนคล้อย ลดริ้วรอยก่อนวัย

 

 วิธีการทาน Dong-Hee เพื่อสุขภาพภายในที่ดีจนคุณรู้สึกได้

*** เพียงทานวันละ 2 เม็ด ก่อนนอน ตอนท้องว่างเพื่อการดูดซึมที่ดีของสมุนไพร

สามารถทานต่อเนื่องเป็นประจำทุกวันได้ไม่เป็นอันตราย

ปริมาณ 15 แคปซูล ต่อหนึ่งซอง

เลขที่จดแจ้ง 1-5499-00494-42-7 ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายแน่นอน!!

 

ติดต่อสั่งซื้อสินค้าได้ที่ Dong Hee ดงฮี ตกขาว ปวดท้องน้อย

หรือ Line @dong-hee

กลับสู่หน้าหลัก ตกขาว ปวดท้องน้อย